กองทุนคุ้มครองเด็ก

กองทุนคุ้มครองเด็ก

กองทุนคุ้มครองเด็ก

กรอบแนวทางในการจัดทำโครงการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนคุ้มครองเด็ก

1.การพัฒนาระบบคุ้มครองเด็ก เช่น

-การจัดทำฐานข้อมูลเด็กกลุ่มต่าง ๆ

-การจัดทำแผนบูรณาการด้านการคุ้มครองเด็กร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในพื้นที่

-การพัฒนาระบบงาน เพื่อให้การช่วยเหลือเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกทารุณกรรม ถูกนำไปแสวงหาประโยชน์อย่างเป็นระบบ

-การพัฒนาทีมสหวิชาชีพ และบุคลากรผู้ทำงานด้านเด็กให้มีความรู้ มีทักษะในการปฏิบัติงาน

-การส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการคุ้มครองเด็ก

-มีการเฝ้าระวังปัญหาเด็กในชุมชน

-การติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานคุ้มครองเด็ก

2.การส่งเสริมศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการคุ้มครองเด็ก เช่น

-การทำกิจกรรมหรือโครงการที่มีการบูรณาการปฏิบัติงานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และเครือข่ายในพื้นที่

-การจัดตั้งกลไกต่าง ๆ เพื่อการคุ้มครองเด็กและครอบครัว

-การส่งเสริมองค์กรด้านเด็กและครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้บทบาทดูแลเด็กและครอบครัวในชุมชน

-การทำกิจกรรม เพื่อตรวจตราสถานที่เสี่ยงสำหรับเด็ก

-การทำกิจกรรม เพื่อเปิดเวทีให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออกถึงความคิดเห็นและสภาพปัญหา

-การจัดทำฐานข้อมูลเด็กกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน

3.การพัฒนาเด็กและเยาวชน เช่น

-ให้เด็กมีความผูกพันในครอบครัว ภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีทักษะอาชีพ และเคารพสิทธิผู้อื่น

-ให้เด็กมีสุขภาพ และพลานามัยแข็งแรง รู้จักป้องกันตัวเองจากโรค และสิ่งเสพติด

-มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน

-รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

-รู้จักที่จะช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ

4.การป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน เช่น

-การแก้ไขเด็กและเยาวชนในพื้นที่

-การวางระบบการป้องกัน แก้ไข และเฝ้าระวังปัญหาเด็กและเยาวชนในพื้นที่

-การส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนในพื้นที่

-การส่งเสริมให้ชุมชน สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมกันแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนในพื้นที่

5.การส่งเสริมศักยภาพครอบครัวเพื่อการเลี้ยงดูบูตรอย่างเหมาะสม เช่น

-มีการให้ความรู้แก่บิดา มารดา ผู้ปกครองเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กแต่ละช่วงวัย การแก้ปัญหาพฤติกรรมของเด็กแต่ละช่วงวัย การเลี้ยงดูเด็กที่ต้องการ และการดูแลเด็กเป็นพิเศษ

-การให้ความรู้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ในเรื่องการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวเพื่อให้เกิดความผาสุขและความเป็นอยู่ที่เหมาะสม

-มีการจัดกิจกรรมให้เด็กและครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อยกระดับความสัมพันธภาพหรือแก้ไขปัญหาและประเด็นต่าง ๆ

-มีการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลไก หรือการบริการให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวที่ประสบปัญหาในการเลี้ยงดูบุตร

-มีการพัฒนาศักยภาพครอบครัวให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อเด็กและเยาวชน

-การส่งเสริมให้ครอบครัวมีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับโรงเรียน วัด และชุมชน เพื่อใช้กิจกรรมเป็นเครื่องอบรมขัดเกลาและพัฒนาเด็ก

6.การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก เช่น

-มีการสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนัก เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ผู้บริหาร สถานศึกษา ครู บุคลากรด้านสาธารณสุขและอื่น ๆ รับทราบบทบาทตามที่กฎหมายกำหนด และมีส่วนร่วมเฝ้าระวังปัญหาเด็กในชุมชน

-มีการผลักดันสื่อประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างกระแสให้สังคม เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองเด็กในชุมชน

Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial